วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

OTT Content เมื่อ Telecom Operator เป็นผู้ให้บริการ Content เอง

OTT คืออะไร 

      ผมได้ยินว่าว่า OTT แรกๆ ก็ตอนที่มี Operator รายหนึ่งกำลังมีความสนใจซื้ออุปกรณ์ที่เรียกว่า Set Top Box เผื่อให้บริการ OTT พอคุยรายอะเอียดก็เข้าใจว่าจริงๆแล้ว ไม่ได้มีออะไรใหม่เลย มันคือการให้บริการ ด้านภาพ เสียง ข้อความ หรือ วิดีโอ ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง OTT ย่อมาจาก over - the - top หรือก็เหมือนกับ ท๊อปปิ้งไอสครีมหรือเค๊ก นั่นเอง แล้ว Over - the - top ของอะไร ก็คืออินเทอร์เน๊ตนั่งเอง ผู้ให้บริการเหล่านี้ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตเลย แต่ใช่ อินเทอร์เน็ตในการส่งข้อมูลและทำรายได้ให้กับบริษัทเหล่านั้น 

        ปัจจุบัน OTT เป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ที่เห็นง่ายๆคือ application ต่างๆ บนสมาร์ทโฟนนั่นเอง เช่น Line , FaceBook หรือ Instragram เป็นต้น

Set Top Box Boxee by D-Link


         Application เหล่านี้ เมื่ออยู่บน Smartphone ได้ ก็อยู่บน Tablet, Set top box หรือ Smart TV ได้ เช่นกัน ซึ่งมีจอที่ใหญ่กว่า Smartphone จึงทำให้ Content ประเภทวิดีโด มาดูผ่าน TV ได้ 
         Set to box ที่รู้จักกันดี คือ Apple TV และ Andriod box นั่นเอง ซึ่งก็คือระบบปฏิบัติการจาก Smartphone  ซึ่ง Content ต่างๆ ซึ่งจะเห็นว่า Video Content จากหลายๆค่ายพร้อมที่จะมาวิ่งผ่าน STB เหล่านี้ ซึ่งการจะเช่าหนังผ่านระบบทางหน่าจอได้เลย Content อื่นๆ เช่น YouTube,Vimeo, RedBull,NetFlix ก็มีพร้อมบนบริการเหล่านี้ แต่บางบริการอาจไม่มีในเมืองไทย
 
ตัวอย่าง Interface ของ Apple TV  (ภาพ จาก www.apple.com)

เมื่อเป็นดังนี้แล้ว ในเมื่อ Telecom Operator ก็คือผู้บริการอินเทอร์เน็ต จะอยู่เฉยๆ ทำไม ให้บริการ ไปด้วยเลยดีกว่า
Telecom Operator ก็เลยเป็นผู้ให้บริการเองไปเลย โดยส่วนใหญ่ Set top box มักพัฒนามาจาก Android Box

OTT Video ของ Telecom Operator แต่ละค่าย

ผมจะลองเรียบเรียง OTT Video ของแต่ละค่ายมีบริการดังนี้ 

 ผมเพิ่ม OTT Video ที่มี Platform ที่ดูโอเค และเป็นหนังค่ายใหญ่ใน Hollywood มา 2 เจ้า คือ PrimeTime และ Hollywood HDTV เข้ามาด้วย ผมทดลองดูผ่าน Apple TV แล้วใช้งานได้ดี ซึ่ง 2 ค่ายนี้ไม่ใช่ Telecom Operator

ยังไงก็ตาม หนังใหม่ที่เป็นหนังลิขสิทธิ์ อาจหาไม่ได้จาก OTT เหล่านี้ แต่อาจค้นหาจาก Google แล้วดู online ได้เลยเช่นกัน ซึ่งคงเป็นอุปสรรค์พอควรสำหรับผู้หวังรายได้จากบริการ OTT Content

 




วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Churn Rate ปัญหาหนักอก ของผู้ให้บริการ แก้ด้วย Multi-Play

ปัญหาหนักอกของผู้ให้บริการ Fixed Broadband และ ผู้ให้บริการโทรคม คือปัญหาลูกค้ายกเลิกบริการ หรือที่ทางผู้ให้บริการมักเรียกกันว่า Churn หรือ Churn Rate นั่นเอง Churn Rate หมายถึงอัตราส่วนของลูกค้าที่ออกจากระบบต่อจำนวนลูกค้าทั้งหมด ซึ่งมักวัดเป็นต่อเดือน หากลูกค้าออกจากระบบจำนวนสูงมาก แสดงว่า บริการอาจมีปัญหาสูงตามมานั่นเอง

ซึ่งสาเหตุของการยกเลิกอาจมีสาเหตุหลายอย่าง เช่น ไม่พอใจกับการบริการ เกิดเหตุเสียบ่อย ระบบไม่เสถียร หมดสัญญาแล้วผู้ให้บริการรายอื่นมีข้อเสนอที่ดีกว่า ต้องการโปรโมชั่นที่ดีกว่า หรือต้องการลดค่าใช้จ่าย ก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น

แน่นอนว่าก่อนที่ลูกค้าจะยกเลิกลูกค้าต้องมีต้นทุนจากในการย้ายค่ายที่ลูกค้าคิด และผู้ให้บริการคิดดังนี้

 1. ต้นทุนตามสัญญาการใช้บริการ 

  สัญญาการใช้บริการเป็นต้นทุนที่ชัดเจน และเห็นง่ายที่สุดหากจะย้ายค่าย ดังนั้นผู้ให้บริการโดยทั่วไปมักทำสัญญาผูกพันธ์ กับลูกค้าในการ Bundle กับอุปกรณ์ Router ตัวใหม่ หรือ บริการใหม่ๆ ซึ่งเป็นมาตรฐานโดยทั่วๆไป ทั้งลูกค้าทั้ง Fixed BB และ Mobile ถ้าท่านจะยกเลิกก่อนครบสัญญา ท่านก็ต้องมีต้นทุนส่วนนี้ ลูกค้าโดยทั่วไปจึงมักยกเลิกหลังครบสัญญาบริการแล้ว และหากผู้ให้บริการไม่ปรับตัวก่อนลูกค้ายกเลิก ลูกค้าก็อาจจะไปใช้ผู้ให้บริการรายอื่นได้โดยง่ายเพราะไม่มีต้นทุนส่วนนี้ ผู้ให้บริการบางรายอาจเสนอปรับ Bandwidth สูงขึ้นในราคาเดิม เสนอให้ SIM 3G เพื่อ Bundle เสนอ Bundle IPTV พ่วงเข้ามา เสนอ WiFi ให้ใช้ฟรี เช่น กรณี 3BB ให้ฟรี 3BB WiFi สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการครบ 1 ปี หรือ แม้กระทั่งเสนอ Router ตัวใหม่ เสนอเปลี่ยนระบบใหม่ ซึ่งในต่างประเทศบางประเทศเช่นสิงค์โปร์ ลูกค้าจะได้ Router ตัวใหม่ หลังครบสัญญา

ถ้าผู้ให้บริการรายใดทำตัวนิ่งไม่สนใจที่จะติดต่อลูกค้าก่อนครบสัญญา ท่านก็อาจต้องทำใจหากลูกค้ายกเลิกไปใช้รายอื่น ซึ่งมักจะเรียกกลับมายาก เพราะผู้ให้บริการรายใหม่ก็จะทำสัญญาอีก 1 ปีกับลูกค้ารายนั้น


 2. ต้นทุนเรื่องสิทธิประโยชน์จากผู้ใช้บริการรายเดิม

สิทธิ์ประโยชน์ หรือ การสะสมแต้ม เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการให้กับลูกค้า เพื่อรักษาลูกค้าให้อยู่กับบริษัทนานๆ ถ้าเป็นกรณี Fixed Broadband ที่เห็นชัดเจนเลย คือ 3BB VIP และ TrueYou สำหรับผู้ให้บริการ Fixed Broadband รายใหม่ อย่าง AIS ซึ่งมีบริการ AIS Seranade นั้น ยังไม่ทราบข้อมูลแน่ชัดว่าจะรวมสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้า Fixed Broadband หรือไม่

แน่นอนว่าหากลูกค้าได้ใช้สิทธิประโยชน์เหล่านั้นคิดจะเปลี่ยนค่าย เมื่อเทียบสิทธิ์ประโยชน์ที่หายไป ลูกค้าอาจไม่ย้ายค่าย

 3. ต้นทุนของความเสถียรหลังการใช้บริการ

ลูกค้าที่จะย้ายค่ายอาจมีความกังวลหลังการใช้บริการกับผู้ให้บริการรายใหม่ ดังนั้น ลูกค้าอาจค้นข้อมูลจาก Review ต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต หรือสอบถามจากคนที่ให้บริการอยู่แล้ว ดังนั้นลูกค้าอ้างอิงจึงมีความสำคัญมากๆ เราอาจเห็นโปรแกรมทางการตลาดที่ให้คะแนนสำหรับลูกค้าอ้างอิง และมีอาชีพใหม่ๆอย่างบล๊อกเกอร์เกิดขึ้นมา ทั้งนี้ก็เพื่ออ้างอิงบริการของผู้ให้บริการ

 4. ต้นทุนของการปรับใช้กับระบบเดิมที่มีอยู่

 ลูกค้าบางรายอาจมี Wireless Router ตัวเดิมที่เพิ่งไปซื้อมาเปลี่ยนเอง ที่ยังอยากใช้อยู่ หรือ อาจมี Set Top Box ที่คุ้นเคยกับ Remote หรือ Menu ต่างๆเป็นอย่างดี หรือ คุ้นเคยกับ ช่างเทคนิค หรือ Call center หากเปลี่ยนอาจมีความยุ่งยาก ในการติดต่อประสานงาน ดังนั้น นี่อาจเป็นต้นทุนที่ทำให้ลูกค้าไม่คิดจะย้าย

 5. ต้นทุนในการเปรียบเทียบ package ของแต่ละค่าย

การเปรียบเทียบข้อมูล package ในปัจจุบันแม้ทำได้ง่ายมากๆ ผ่าน Internet แต่ลูกค้าอาจอาจต้องใช้เวลาในการเปรียบเทียบ ประมาณว่าเมื่อใช้บริการอยู่แล้ว จะเปลี่ยนไปทำไม แต่สำหรับผู้ให้บริการที่ให้บริการเพียง Internet อย่างเดียวนั้น นับว่าง่ายมากที่คู่แข่งจะเข้ามาโจมตี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ลูกค้าหมดสัญญาไปแล้ว

ดังนั้นแนวคิดการให้บริการแบบ Bundling ที่เรียกว่า Triple Play คือ NET + Voice + TV หรือ Quad Play คือ NET + Voice + TV + Mobile หรือในปัจจุบันอาจเรียกว่า Multi-Play ไปแล้ว ได้แก่การเพิ่ม ฟรี WiFi , เสริมระบบระบบกล้องไอพี, ระบบ Cloud Storage ขึ้นมา เป็นต้น ทั้งนี้ ก็เพื่อลด Churn Rate ให้ลูกค้าอยู่กับตนไปนานๆ ตราบเท่าที่ลูกค้ายังจ่ายค่าบริการรายเดือนอยู่นั่นเอง





วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การปรับปรุงระบบ WiFi ให้ครอบคลุมทั้งบ้าน

ปัจจุบันการใช้ WiFi ให้ครอบคลุมทั้งบ้านมีความจำเป็นมาก เนื่องมาจาก Smart Phone และ Tablet เราใช้งานในทุกๆจุดในบ้าน แม้กระทั่งในห้องน้ำ

เราอาจพบว่าสัญญาณ WiFi อาจจะไม่ครอบคลุม หรือ บางจุดสัญญาณอ่อนไปมาก จนอยากจะปรับปรุงระบบอินเทอร์เน็ตหรือ WiFi ในบ้านให้ดีกว่าเดิม วิธีการที่ทำได้มีดังนี้

1. ติดตั้ง Wireless Router ใหม่
เราสามารถเรียงมาตรฐาน WiFi จากเก่าไปใหม่ได้ดังนี้ 802.11a, 802.11b, 802.11g, 802.11n, and 802.11ac ดังนั้นมาตรฐานใหม่ที่เราพบในปัจจุบันที่ควรจะเป็นคือ 11n กับ 11ac  มีวิธีการสองวิธีที่จะได้ Wireless Router ใหม่ คือ สอบถามกับผู้ให้บริการ และซื้อเครื่องใหม่
ปัจจุบันมีผู้ให้บริการที่แจก wireless router ฟรี เช่น True , AIS เป็นต้น แต่ก็อาจต้องแลกกับการทำสัญญาใช้บริการสัก 1 ปี แค่นี้ท่านก็ได้ wireless router ใหม่ แล้ว หรือ บางทีถ้าไม่ใช่บริการจาก 2 เจ้าตามที่กล่าวมา หากท่านใช้ครบสัญญา ท่านอาจได้การ upgrade bandwidth หรือไม่ก็อาจ router มาฟรีๆ ปัจจุบัน เมืองไทยเรามีผู้ให้บริการ Fixed BB ใน พื้นที่เดียวกันประมาณ 5-6 เจ้าเข้าไปแล้ว ได้แก่ True , AIS , 3BB ,CAT , TOT ทั้งนี้บางแห่งอาจมีผู้ให้บริการในพื้นที่อีกเช่น Sinet ในพื้นที่ เชียงใหม่ และ นครราชสีมา เป็นต้น

Wireless Router รุ่นใหม่ๆ มีการพัฒนา Feature เพิ่มขึ้นมาก เพื่อรองรับ Bandwidth ที่เพิ่มขึ้น ตัว Smart Phone เองเช่น iPhone6 , Sumsung Galaxy S4 ขึ้นไป ก็สามารถรองรับ Wireless ac แล้ว หากท่านใช้โทรศัพท์เหล่านี้อยู่ก็ควรถึงเวลา upgarde wireless router ได้

2. ติดตั้งระบบ PowerLine

หากต้องใช้งานกับระบบ Streaming หรือ Set Top Box ระบบ PowerLine มีความจำเป็นมาก เนื่องจากการส่งข้อมูลภาพ มีความจำเป็นที่ต้องใช้งานต่อเนื่องไม่สะดุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองไทยเรา จุดที่ติดตั้ง Modem router กับโทรทัศน์ มักอยู่คนละจุด และ การใช้ Set top box ผ่าน WiFi 2.4 Ghz นั้น มีความหนาแน่น สัญญาณ WiFi อาจทับซ้อนกับข้างบ้านได้โดยง่าย ดูหนัง ดูทีวี ก็หมดสนุก

การตั้งตั้งระบบ PowerLine จึงเป็นทางเลือกที่ดีมาก สำหรับสำหรับการใช้งานการดู TV ผ่าน Streaming ไม่ว่าจะเป็น Smart TV, Apple TV, MeTV หรือ PlayBox ของ AIS ที่กำลังจะเปิดให้บริการ



ระบบ PowerLine ก็ใช้งานง่ายมากๆ เพียงต่อสาย Lan จาก Modem router เสีบบปลั๊กไฟในบ้าน แล้วไปเสียบปลั๊กอีกห้องที่ โทรทัศน์กับ STB หรือ Smart TV เราตั้งอยู่ แค่นี้้ สายไฟฟ้าในบ้านก็จะแปลงเป็นสาย Lan ให้เราทันที

เราอาจเลือก PowerLine ตัวปลายทางที่เป็น WiFi ในตัว หรือจะมี Wireless Router อีกตัวไปต่อปลายทางก็ได้

3. ติดตั้ง Wireless Extender หริอ Wireless Repeater

Wireless Extender หรือ WiFi Extender จะทำรับสัญญาณจาก Router หลัก แล้วทำการทวนสัญญาณในบริเวณที่สัญญาณอ่อนภายในบ้านได้ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
แต่ว่าWireless Extender จะทำให้ความเร็วรวมในระบบลดลงครึ่งหนึ่งเนื่องจากมันไปแชร์ Bandwidth กับ Router หลัก ซึ่งแตกต่างจาก ระบบ PowerLine ระบบ PowerLine สามารถใช้กับ ระบบ Streaming TV ได้ดีกว่า แต่การการใช้งาน internet ทั่วๆไป ก็สามารถใช้ระบบ Wireless Extender ได้

4. ติดตั้ง Wireless Router ที่มี Function High Power

Wireless Router บางรุ่นมี Function High Power ที่สามารถตั้งค่าได้ผ่าน GUI ในตัว Router เอง ซึ่งท่านอาจสอบถามข้อมูลเหล่านี้ได้จากผู้จัดจำหน่าย

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

ความท้าทายใหม่ในตลาด Fixed Broadband เมืองไทย

1) AIS Fibre

พลันที่ AIS ผู้ให้บริการรายใหญ่ด้านโทรศัพท์มือถือของประเทศ เปิดให้บริการ AIS Fibre ซึ่งในช่วงแรกครอบคลุม 7 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล, เชียงใหม่, นครราชสีมา, อุดรธานี, ขอนแก่น, ภูเก็ต และ หาดใหญ่ ก็คงต้องทำให้ผู้ให้บริหารรายเดิมหวั่นๆ ได้เหมือนกัน

ด้วย Package เริ่มต้น 590 บาท/เดือน ความเร็ว 15M/5Mbps เฉพาะลูกค้ากลุ่มคอนโดมีเนียม ซึ่งความเร็ว Up speed นับว่าสูงสุดในปัจจุบัน ซึ่งมีเทคโนโลยี่ที่รองรับ คือ VDSL2 กับ FTTH เท่านั้น ในขณะที่ตลาด ADSL 2+ มีความเร็วสูงสุดที่ 3Mbps ซึ่งเป็นการท้าทายเจ้าเดิมในตลาดอย่างมาก

นั่นคือการท้าทายตลาด ADSL แบบเดิมที่ครองตลาดในเมืองไทยมาช้านาน

และ นี่คือ Package Fixed BB ของ AIS Package นี้มาพร้อม แถมฟรี Wireless Router สำหรับลูกค้าใช้บริการ 1 ปี แต่พื้นที่การให้บริการตอนนี้ยังจำกัดอยู่พอสมควร 

รายละเอียดของ AIS Fibre ดูที่ http://www.ais.co.th/fibre/

โปรโมชั่น AIS Fibre














2) True Online

True Online ผู้ให้บริการที่มีครบทุกรูปแบบ ทั้ง Fixed BB ,Mobile ทั้ง 3G และ 4G  มี Package สำหรับบริการ Fixed BB มานานแล้ว และ ชูบริการแบบคอนเวอร์เจนซ์ ให้บริการที่ครอบคลุมกว่าเจ้าใหม่ แต่ในขณะเดียวกัน True Online แจก ฟรี Wireless ADSL Router 4 พอร์ท สำหรับลูกค้าที่ใช้ครบ 1 ปี เช่นกัน พร้อมทั้งค่าโทรฟรีในเครือข่ายทรู 6 โมงเย็น ถึง 2 ทุ่มแบบไม่อั้นด้วย

แถม wireless router ที่มาแจกลูกค้าคราวนี้เป็น wireless router ระดับ N300 สายอากาศภายนอก  สำหรับการใช้งานที่เชื่อมต่อแบบไร้ในปัจจุบัน แบบไม่ต้องวิ่งไปหาซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยนให้เสียเงิน

รายละเอียดของ True Online ดูได้ที่ http://trueonline.truecorp.co.th/

โปรโมชั่นของ True Online
3. 3BB

3BB หรือ 3 Broadband เป็น Service Provider ที่ให้บริการ Fixed Broadband เป็นหลัก ก่อนหน้านี้ 3BB เป็นผู้นำด้านการปรับความเร็วที่สูงขึ้นก่อนผู้ให้บริการรายอื่นมาโดยตลอด โดยเสนอราคาเท่าเดิมคือ 590 บาท ซึ่งเป็นราคาฐานสำหรับลูกค้าตลาดแมสของ Fixed Broadband









จากตารางจะเห็นว่า 3BB เริ่มเป็นผู้ตามเรื่อง Bandwidth แล้ว เนื่องจาก Up Speed 10M อยู่ที่ 512Kbps เท่านั้น และ ความเร็ว 15M ก็เสนอ Up speed อยู่ที่ 1Mbps ในขณะที่ ทั้ง True และ AIS ให้ Bandwidth ที่สูงกว่านี้แล้ว 

ก็หวังว่า 3BB คงปรับ ราคาอีกไม่นาน ซึ่งแน่นอก ดีกับผู้ใช้อย่างเราแน่ๆ

และรวมทั้ง ลูกค้าต้อง ซื้อ Router 4 Port WiFi ในราคา 999 บาท ซึ่งเป็นข้อแตกต่างที่ต่างจาก AIS และ True ที่ให้ลูกค้าฟรีๆ

สามารถดูรายละเอียด ได้ที่ http://www.3bb.co.th/signup/register2.php

4) TOT

สำหรับ TOT ปีนี้คงเป็นปีแห่งการปรับเปลี่ยนเป็น FTTH โดยแท้ ที่บ้านของผม ทาง TOT ก็มาเปลี่ยน เป็น FTTH โดยไม่ต้องจ่ายค่าบริการใดๆเพิ่มเติม นอกจากการต่อสัญญาอีก 1 ปี แต่ก็ไม่มีปัญหาเพราะยังไงผมก็ใช้อยู่แล้ว และจากประสบการณ์ใช้งานมาร่วม 5-6 เดือนก็สามารถใช้งานได้ดีทีเดียว ดูหนัง ฟังเพลงด้วย Package 10M 590 บาท ใช้งาน Apple TV นี่ดีเลย

แถมไม่เคยมีเหตุเสียให้เสียเวลาเลย อีกทั้งผมยังได้ SIM TOT 3G มาให้ลูกๆใช้อีกในราคาแบบสบายๆ

สำหรับ Promotion ของ TOT เป็นดังนี้ ซึ่งราคายังเห็นว่าไม่เร้าใจเท่า AIS และ True นัก ทั้งนี้ลูกค้าต้อง ซื้อ wirelless Router ในราคา 890 บาท




แต่หากได้ Upgrade เป็น FTTH แล้วก็นับว่าคุ้ม รายละเอียดดูที่ http://www.tothispeed.com/2014/promotion.php  
โปรโมชั่น TOT
ทั้งนี้เมื่อดูแล้วว่าบ้านอยู่ในแถบใหน ใครให้บริการอะไรได้บ้าง บริการเป็นอย่างไร แล้วก็ลองเลือกดูครับ การตัดสินใจอยู่ที่ท่าน เงินของท่านเอง กับยุคที่ อินเทอร์เน็ต เป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้อย่างทุกวันนี้ ส่วนบริการเสริมอย่าง IPTV คงขึ้นอยู่กับท่านเพราะแน่นอนท่านต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มเติมจากค่าบริการปกติด้วยตัวท่านเอง